วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560

องศ์การอานามัยโลกออกมาเตือน..!


    องศ์การอานามัยโลกออกมาเตือน...........ภัยเงียบ


  
นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกให่WHO ออกมาเตือนว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นอันตรายต่อสมองส่งผลให้เกิดมะเร็ง



          





          ด้วยเหตุนี้จึงได้มีนักวิจัยจากหลายประเทศทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลนี้ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง ก่อนที่จะมีงานวิจัยจากประเทศอังกฤษออกมาเปิดเผยว่า คลื่นไมโครเวฟจากโทรศัพท์มือถือก็มีผลต่อสมอง ในแง่ที่ทำให้สมองมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อคำถามแบบ "ใช่" หรือ "ไม่ใช่" ได้รวดเร็วขึ้น แต่ไม่มีผลต่อการทำงานของสมองในแง่อื่น ๆ และยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นอันตรายต่อสมอง


          ทั้งนี้จริงอยู่ที่ว่า หากสิ่งมีชีวิตได้รับคลื่นรังสีในปริมาณมาก ๆ ย่อมส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จนทำให้เกิดอันตรายได้ แต่เนื่องจากความถี่ของคลื่นไมโครเวฟโทรศัพท์มือถือ กับเตาไมโครเวฟประกอบอาหารต่างกัน และกำลังส่งสัญญาณของโทรศัพท์มือถือก็ต่ำมาก ส่วนสนามแม่เหล็กที่ส่งออกมาก็มีขนาดเล็กมาก เกินกว่าจะมีผลกระทบต่อเซลล์ในร่างกาย จึงไม่จำเป็นที่จะต้องวิตกว่าการใช้โทรศัพท์มือถือจะทำให้ภูมิคุ้มกันแย่ลงหรือส่งผลกระทบต่อสมองและระบบประสาท





          ส่วนที่เคยมีงานวิจัยจากสวีเดน และราชสมาคมในลอนดอนระบุไว้ว่า เด็กหรือวัยรุ่นอายุน้อยกว่า 20 ปี ที่ใช้โทรศัพท์มือถือ มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งบริเวณส่วนต่อของหูกับสมอง หรือเนื้องอกในสมองมากกว่าคนทั่ว ๆ ไปถึง 5 เท่า เนื่องจากสมองและระบบประสาทยังไม่พัฒนาเต็มที่ และเด็กยังมีกะโหลกบางและเล็กกว่าผู้ใหญ่ ทำให้คลื่นพลังงานจากโทรศัพท์มือถือ สามารถทะลุทะลวงเข้าสู่สมองเด็กได้มากกว่า ขณะที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหลังอายุ 20 ปี มีโอกาสเป็นเนื้องอกในสมองชนิดร้ายแรง เพียง 50% เท่านั้น แค่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งบริเวณส่วนต่อของหูกับสมองแค่ 2 เท่า


          ข้อมูลนี้อาจจะดูน่ากลัวแต่ในความเป็นจริงแล้ว นักวิจัยเองก็ยอมรับว่ายังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะยืนยันว่า การใช้โทรศัพท์มือถือในระยะยาว เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งที่บริเวณสมอง เพราะการเกิดมะเร็งสมองได้ต้องใช้เวลานานหลายปี และอาจมีปัจจัยอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบด้วยจึงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอีก


          สอดคล้องกับรายงานของสถาบันวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ ภายใต้การดูแลขององค์กรอนามัยโลกหรือ WHO ที่ระบุว่า จากการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 13,000 คน ในระยะเวลา 10 ปี พบว่าโทรศัพท์มือถือ ไม่ได้มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งสมองชนิดเนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง และเนื้องอกในระบบประสาทส่วนกลาง แม้จะคุยโทรศัพท์นานกว่า 30 นาที ก็ยังไม่อาจสรุปได้ว่า โทรศัพท์มือถือเป็นสาเหตุของการเกิดเนื้องอกในสมองได้โดยตรง พบแต่เพียงว่าผู้ที่คุยโทรศัพท์มือถือนานกว่า จะมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือบ่อยครั้งแต่ระยะเวลาสั้น ๆ


          ทั้งนี้ ใช่ว่าการใช้โทรศัพท์มือถือจะไม่มีผลต่อสมองผู้ของใช้เลยเสียทีเดียว เพราะในวงการแพทย์ได้ยืนยันถึงผลกระทบของโทรศัพท์มือถือกับสมองไว้เรื่องหนึ่งว่า หากคุยโทรศัพท์มือถือนาน ๆ จะทำให้ผู้ใช้เกิดอาการปวดศีรษะ ผิวหนังเหี่ยวย่น ความจำแย่ลงด้วย


          สรุปก็คือ ณ วันนี้ นักวิจัยยังไม่ฟันธงว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์มือถือจะส่งผลอันตรายต่อระบบสมอง หรือประสาท อย่างที่ใคร ๆ กลัวกัน มีแต่เพียงคำเตือนที่ว่า การใช้โทรศัพท์มือถืออาจทำให้ผู้ใช้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสมองมากกว่าผู้ไม่ได้ใช้เท่านั้น และต้องมีการศึกษาวิจัยต่อไปอีกในอนาคต


          แต่ถ้าหากใครยังไม่แน่ใจ หรือเกรงว่าผลวิจัยในอนาคตจะออกมาตรงกันข้ามกับข้อมูล ณ วันนี้ เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง เราก็ควรใช้โทรศัพท์มือถืออย่างระมัดระวังมากขึ้นโดย



   คลิกชมยูทูปจากรายงานข่าว.....!!


https://youtu.be/LGZ9MJagRKY


https://youtu.be/S_CmAX0wSTE


https://youtu.be/T1uWQX_qvFI



https://youtu.be/ecFIfW-0dlY



http://chinnawatwgn.blogspot.com/2017/06/cell-phone-radiation.html



เก็บข่าวมาเล่าความ.....

Mr.chinnawat

091-860-9119

091-516-8994



สนใจผลิตภัณฑ์ BioZen

คลิกชม..https://youtu.be/AaR6v5rcV4Q





วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560

นิทานชวนคิด..!!

คุณประสบความสำเร็จด้วยอะไร?




เมื่อพระถังซำจั๋งและลูกศิษย์   ได้ผจญกับเภทภัยความทุกข์
ยากทั้งเก้าเก้าแปดสิบเอ็ดด่าน  ตอนเดินทางไปชมพูทวีป ก็
บรรลุจุดหมายในการอัญเชิญพระไตรปิฎก  และเมื่อเดินทาง
กลับยังบูรพาแดนถิ่นอันเป็นมาตุภูมิ   กษัตริย์ถังไท่จงได้จัด
งานเลี้ยงฉลองให้กับผู้อัญเชิญพระไตรปิฎกทั้ง 4

“ท่านอาศัยอะไรจึงทำให้เกิดความสำเร็จในครั้งนี้?” 
กษัตริย์ถังไท่จงทรงตรัสถามพระถังซำจั๋ง
“ข้าพเจ้าอาศัยความศรัทธาเชื่อมั่นเป็นที่ตั้ง หากข้าพเจ้าไม่
สิ้นลมหายใจ    ข้าพเจ้าย่อมอัญเชิญพระไตรปิฎก  มายังดิน
แดนจงหยวนได้” 
พระถังซำจั๋งทูลตอบ

“แล้วท่านหงอคงล่ะ     ท่านอาศัยอะไรจึงทำให้เกิดความสำ
เร็จในครั้งนี้?” 
กษัตริย์ถังไท่จงทรงตรัสถามซุนหงอคง
“ข้าพเจ้าอาศัยพละกำลังแห่งตนและพวกพ้อง เพราะยามใด
ที่ข้าพจ้าหมดวิธีการ     ข้าพเจ้าเลือกที่จะขอกำลังจากพวก
พ้อง” 
ซุนหงอคงทูลตอบ

“แล้วท่านล่ะตือป๊วยก่าย   ท่านออกจะขี้เกียจปานนั้น    ท่าน
อาศัยอะไรจึงทำให้เกิดความสำเร็จในครั้งนี้?” 
กษัตริย์ถังไท่จงทรงตรัสถามตือป๊วยก่าย
“ข้าพเจ้าเลือกอยู่กับกลุ่มคุณภาพ   ตลอดเส้นทางมีคนคอย
ช่วยเหลือ คอยสอนสั่ง คอยชี้แนะนำพา แล้วมันจะไม่สำเร็จ
ได้อย่างไรล่ะ!” 
ตือป๊วยก่ายทูลตอบ

“แล้วท่านซัวเจ๋งล่ะ  ท่านเป็นคนซื่อๆทื่มๆเช่นนี้   ท่านอาศัย
อะไรจึงทำให้เกิดความสำเร็จในครั้งนี้?” 
กษัตริย์ถังไท่จงทรงตรัสถามซัวเจ๋ง
“ข้าพเจ้าขอตอบแบบง่ายๆเลยก็คือ เชื่อฟังแล้วก็ปฏิบัติตาม” 
ซัวเจ๋งทูลตอบ
.............................................................................................
บนเส้นทางของการทำงาน 
ช่วงอายุ 20  อาศัยฝีมือ
ช่วงอายุ 30  อาศัยฝีมือ+เพื่อนพ้องเส้นสาย
ช่วงอายุ 40  อาศัยเพื่อนพ้องเส้นสาย

การก้าวไปสู่ความสำเร็จของทุกคนจึงไม่เหมือนกัน แต่มีสิ่ง
หนึ่งที่เหมือนกันก็คือ นั่นก็คือการตัดสินใจเลือก

คุณตัดสินใจเลือกทางเดินชีวิตอย่างไร ก็ย่อมเดินไปบนเส้น
ทางชีวิตแบบนั้นๆ   หากคุณอยากประสบความสำเร็จในชีวิต 
คุณต้องสร้างทีมเอง  หรือไม่ก็ต้องเข้าสู่ทีมที่มีคุณภาพ

ในสังคมที่  วันหนึ่งมีสิ่งเปลี่ยนแปลงเป็นแสนเป็นล้านอย่าง
เช่นนี้ หากคิดเองทำเอง หนทางที่คุณเดิน ก็ยิ่งมาจะยิ่งแคบ
ลงเรื่อยๆ เลือกผู้ที่มีอุดมการณ์เดียวกันเป็นมิตรสหาย ก็เท่า
กับเลือกทางแห่งความสำเร็จ  ใช้ความฝันสร้างทีม   และใช้
ทีมนั่นแหละสร้างฝันให้เป็นจริง

มนุษย์นั้น
เป็นใหญ่เพราะความฝัน 
ล้ำเลิศเพราะทีมงาม 
เป็นสุขเพราะจิตสำนึกคุณ 
เปลี่ยนแปลงเพราะการเรียนรู้ 
ประสบความสำเร็จด้วยการลงมือทำ

คุณเป็นใครนั้นไม่สำคัญ    
แต่สำคัญว่าคุณยืนอยู่ตรงไหน? 
ยืนอยู่กับคนประเภทใด? 
หากคุณต้องการให้ทีมประสบความสำเร็จ  คุณต้องมีทัศนะ
เหล่านี้
1. ผู้สร้างทีมต้องมีจุดหมายที่แน่วแน่     และต้องมีความน่า
เลื่อมใส
2. ฝ่ายบริหารต้องมีแหล่งสนับสนุนหลายเส้นทาง    และแต่
ละเส้นทางต้องแข็งแกร่ง  อีกทั้งมีศักยภาพในการแก้ไขปัญ
หาที่เกิดขึ้น   เมื่อเห็นปัญหาต้องชี้ทางออกได้ มิใช่ชี้แต่ปัญ
หาโดยไม่พยายามหาทางออก
3. ฝ่ายพัฒนาต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับทีม      ทีม
ต้องมีคนช่วย คนสอน และคนนำพา
4. ฝ่ายจัดการต้องอาศัยศักยภาพในการลงมือปฏิบัติ  ต้องมี
ความซื่อสัตย์ภักดี เชื่อฟังและปฏิบัติตาม

คุณล่ะ ยืนอยู่ตรงจุดใดในทีม? 
ไม่ว่าคุณจะยืนอยู่ในจุดใดของทีม 
ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว!
.............................................................................................

 เก็บเรื่องดีๆมาฝากเพื่อนๆ
   Mr.chinnawat่
      สนใจธุรกิจออนไลน์:
http://worldgnthailand-asia.com/?id=Powerrich9119

ฮอว์กิงเสนอให้มนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้ง ภายใน 3 ปีข้างหน้า



ศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์กิง นักฟิสิกส์อัจฉริยะชื่อดัง เรียกร้องให้บรรดาประเทศที่มีเทคโนโลยีชั้นนำ ส่งมนุษย์อวกาศไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้ง ภายในปี 2020 เพื่อเร่งยกระดับความสามารถของมนุษยชาติในการออกไปตั้งอาณานิคมยังดวงดาวอื่น ๆ ให้ได้โดยเร็ว

ศาสตราจารย์ฮอว์กิงยังแนะว่า ชาติมหาอำนาจด้านอวกาศควรเร่งตั้งฐานบนดวงจันทร์ให้ได้ภายในเวลา 30 ปีนับจากนี้ และควรส่งมนุษย์ไปยังดาวอังคารให้ได้ภายในปี 2025

นักฟิสิกส์อัจฉริยะอธิบายว่า ข้อเรียกร้องดังกล่าวมีขึ้นเพื่อเป็นกุศโลบายให้นานาประเทศร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศ เพื่อให้มนุษยชาติสามารถอพยพไปตั้งถิ่นฐานยังส่วนอื่น ๆ ของจักรวาลได้โดยเร็ว ก่อนที่โลกจะไม่สามารถเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ได้ในอีกไม่กี่ร้อยปีข้างหน้า

ศาสตราจารย์ฮอว์กิงชี้ว่า การกลับไปเหยียบดวงจันทร์จะทำให้มนุษยชาติหันมามีจุดมุ่งหมายด้านอวกาศร่วมกันImage copyrightNEIL A. ARMSTRONG
คำบรรยายภาพศาสตราจารย์ฮอว์กิงชี้ว่า การกลับไปเหยียบดวงจันทร์จะทำให้มนุษยชาติหันมามีจุดมุ่งหมายด้านอวกาศร่วมกัน

"การขยับขยายออกไปตั้งอาณานิคมในอวกาศ จะเปลี่ยนโฉมหน้าแห่งอนาคตของมนุษยชาติไปอย่างสิ้นเชิง ผมหวังว่าโครงการส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้ง จะทำให้ชาติต่าง ๆ ที่มีศักยภาพในการแข่งขันด้านอวกาศ หันมามีจุดมุ่งหมายเดียวกัน โดยร่วมกันต่อสู้กับความท้าทายที่มนุษยชาติกำลังเผชิญอยู่" ศาสตราจารย์ฮอว์กิงกล่าว

"การมีเป้าหมายใหม่ ๆและมีโครงการอวกาศเพิ่มเติม จะกระตุ้นให้ผู้คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนหันมาให้ความสนใจกับงานด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยามากขึ้น วงการอวกาศจะมีความคึกคักเหมือนกับสมัยทศวรรษที่ 1960 และเทคโนโลยีด้านอวกาศจะพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด"

ศาสตราจารย์ฮอว์กิงยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่มนุษยชาติต้องเร่งอพยพไปตั้งถิ่นฐานยังดาวดวงอื่น โดยบอกว่าเรื่องดังกล่าวไม่ได้เป็นเพียงนวนิยายวิทยาศาสตร์อีกต่อไป เนื่องจากเขาได้เล็งเห็นแล้วว่า ในอนาคตมนุษย์จะต้องละทิ้งโลกไปอยู่ในอาณานิคมแห่งใดแห่งหนึ่งในอวกาศอย่างแน่นอนโดยไม่มีทางเลือกอื่น เพราะโลกจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรงและทรัพยากรโลกจะร่อยหรอลงจนถึงขั้นที่มนุษย์ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้

แบบจำลองแสดงแผนการก่อสร้างสถานีแห่งใหม่บนดวงจันทร์ขององค์การอวกาศยุโรป
คำบรรยายภาพแบบจำลองแสดงแผนการก่อสร้างสถานีแห่งใหม่บนดวงจันทร์ขององค์การอวกาศยุโรป

ในปัจจุบัน องค์การอวกาศยุโรป (ESA) มีแผนจะก่อสร้างสถานีแห่งใหม่บนดวงจันทร์ในปี 2024 และกำลังร่วมมือกับรัสเซียในการส่งยานสำรวจไปมองหาสถานที่ก่อสร้างที่เหมาะสมบนดวงจันทร์ในเร็ว ๆ นี้ ส่วนจีนนั้นก็ได้ประกาศแผนเตรียมส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์มาก่อนหน้านี้แล้ว

ด้านองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯหรือนาซานั้น ยังไม่มีแผนจะส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ครั้งใหม่ แต่มีแผนจะส่งมนุษย์ไปดาวอังคารให้ได้ภายในทศวรรษ 2030 อย่างไรก็ตาม หากนานาชาติมีการแข่งขันกันส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ในเร็ว ๆ นี้ คาดว่านาซาก็ไม่อาจนิ่งเฉยได้เช่นกัน

ตู้เอทีเอ็มเครื่องแรกถูกนำมาใช้เมื่อ 27 มิถุนายน พ.ศ.2510Image copyrightGETTY IMAGES

10 ข้อ น่ารู้ เกี่ยวกับ "ตู้เอทีเอ็ม"

1. จอห์น เชพเพิร์ด บาร์รอนชาวอังกฤษ คือ ผู้ประดิษฐ์ตู้เอทีเอ็มคนแรกของโลก หลังจากที่ เขาไปถึงธนาคารเพื่อถอนเงินในช่วงสุดสัปดาห์ช้าไปเพียง 1 นาทีหลังเวลาปิดทำการ วันหนึ่งในปี 1965 เขาได้ความคิดบรรเจิดขณะนอนแช่น้ำในบ้าน และเสนอแนวคิดให้กับผู้บริหารธนาคารบาร์เคลย์ (Barclays) ในปีเดียวกัน

2. ธนาคารบาร์เคลย์ สาขาเอ็นฟิลด์ ในกรุงลอนดอน เป็นธนาคารที่ให้บริการตู้เอทีเอ็มเครื่องแรกของโลก เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน1967 (พ.ศ.2510) โดยในปีเดียวกันบาร์เคลย์ว่าจ้างนายเชพเพิร์ดสร้างเครื่องเอทีเอ็มรวม 6 เครื่อง ผู้ใช้สามารถถอนเงินได้ครั้งละ 10 ปอนด์ โดยใช้ใบสั่งจ่ายพิเศษ ที่ทำจากกระดาษ และต้องใส่รหัส 6 ตัว พร้อมจดลิขสิทธิ์ชื่อผลิตภัณฑ์ว่า 'Hole in the Wall' หรือ "รูในผนัง" เพราะต้องฝังเครื่องอยู่ในผนัง

คนแห่ไปถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็มเครื่องแรกของโลกImage copyrightPA

3.เชพเพิร์ด ดัดแปลงความคิด "ตู้เอทีเอ็ม" มาจากเครื่องจำหน่ายช็อกโกแลต ต่อมา เขาต้องลดรหัสกดเงินจาก 6 ตัว เหลือ 4 ตัว เนื่องจากภรรยาของเขาจำรหัสไม่ได้ 

4. ปัจจุบันในสหราชอาณาจักรมีตู้เอทีเอ็มราว 7 หมื่นเครื่อง มีผู้ถือบัตรเอทีเอ็มราว 176 ล้านใบ เมื่อปีที่แล้วมีผู้ถอนเงินจากตู้เอทีเอ็ม ในสหราชอาณาจักรราว 1.8 แสนล้านปอนด์ ประชากรวัยตั้งแต่ 18 ปีในสหราชอาณาจักรถึง 94% ใช้บริการตู้เอทีเอ็ม แต่ธนาคารกลางอังกฤษยังเชื่อว่าคนทั่วไปจะยังคงใช้เงินสดในการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันอยู่ต่อไปอีกหลายสิบปี 

5. โปรตุเกสเป็นประเทศที่มีสัดส่วนจำนวนตู้เอทีเอ็ม มากที่สุดในยุโรปตะวันตก คือ 1,516 เครื่องต่อประชากร 1 ล้านคน 

ตู้เอทีเอ็มสีทองImage copyrightREUTERS
คำบรรยายภาพ
บาร์เคลย์ติดตั้งตู้เอทีเอ็มสีทองฉลอง 50 ปีของการนำตู้เอทีเอ็มเครื่องแรกมาใช้

6. สวีเดน กำลังเดินหน้าสู่สังคมไร้เงินสด มีสัดส่วนตู้เอทีเอ็ม 333 เครื่องต่อประชากร 1 ล้านคน (สวีเดนมีประชากรประมาณ 10 ล้านคน) 

7. เยอรมนีและเบลเยียม เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกที่อนุญาตให้คนวัยผู้ใหญ่ถอนเงินสดจากตู้เอทีเอ็มได้มากที่สุด โดยเฉลี่ย 3,500 ปอนด์ต่อปี 

8 อินเดีย อนุญาตให้ถอนเงินสดจากตู้เอทีเอ็มได้น้อยที่สุด คือไม่ถึง 270 ปอนด์ต่อปี อย่างไรก็ดี ในช่วงสองสามปีมานี้ธนาคารต่าง ๆ เริ่มอนุญาตให้ถอนเงินสดจากตู้เอทีเอ็มได้มากขึ้น

ตู้เอทีเอ็มยุคใหม่Image copyrightNCR
คำบรรยายภาพวิวัฒนาการของตู้เอทีเอ็มยุคใหม่ดูไม่ต่างจากคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต

9. ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นผู้ให้บริการตู้เอทีเอ็มเครื่องแรกของไทย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2526 

10. เมื่อต้นปี เอ็นซีอาร์ เปิดตัวนวัตกรรมใหม่ล่าสุดของตู้เอทีเอ็ม ที่บริษัทผู้ผลิตอ้างว่าให้ประสบการณ์ใช้งานไม่ต่างจากการใช้แทบเล็ต โดยผู้ใช้สามารถใช้จอสัมผัส ขยายหรือหดตัวหนังสือบนหน้าจอขนาด 19 นิ้วได้ และยังสามารถพูดคุยกับพนักงานธนาคารผ่านทางกล้องวิดีโอได้



  

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


          เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้อ่านบทความ หรือได้รับการบอกต่อ ๆ กันมาว่า อย่าวางโทรศัพท์มือถือไว้ใกล้ตัวนะ อย่าคุยโทรศัพท์มือถือนานนะ เพราะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ออกมาจากโทรศัพท์มือถือ จะส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้สมองเสื่อม เป็นมะเร็งสมองได้

          โอ้โห...ฟังแล้วดูน่ากลัวขึ้นมาทันที เพราะเราเองก็ใช้โทรศัพท์มือถือกันอยู่ทุกวัน ก็ย่อมอดกังวลไม่ได้ว่า  ความเชื่อทั้งหลายเกี่ยวกับการเตือนภัยโทรศัพท์มือถือนี้ จะจริงหรือไม่อย่างไรเพราะฉะนั้นวันนี้เราไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

          ก่อนหน้านี้เราคงเคยได้ยินข้อมูลที่ว่า คลื่นไมโครเวฟที่ออกมาจากโทรศัพท์มือถือนั้นจะส่งผลกระทบต่อสมอง และระบบประสาทได้จึงได้มีฟอร์เวิรด์เมล์บอกต่อ ๆ กัน ว่าไม่ควรเก็บโทรศัพท์มือถือไว้ใกล้ตัวโดยเฉพาะเวลานอนก็ควรปิดโทรศัพท์มือถือเสีย

          ด้วยเหตุนี้จึงได้มีนักวิจัยจากหลายประเทศทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลนี้ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง ก่อนที่จะมีงานวิจัยจากประเทศอังกฤษออกมาเปิดเผยว่า คลื่นไมโครเวฟจากโทรศัพท์มือถือก็มีผลต่อสมอง ในแง่ที่ทำให้สมองมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อคำถามแบบ "ใช่" หรือ "ไม่ใช่" ได้รวดเร็วขึ้น แต่ไม่มีผลต่อการทำงานของสมองในแง่อื่น ๆ และยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นอันตรายต่อสมอง

          ทั้งนี้จริงอยู่ที่ว่า หากสิ่งมีชีวิตได้รับคลื่นรังสีในปริมาณมาก ๆ ย่อมส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จนทำให้เกิดอันตรายได้ แต่เนื่องจากความถี่ของคลื่นไมโครเวฟโทรศัพท์มือถือ กับเตาไมโครเวฟประกอบอาหารต่างกัน และกำลังส่งสัญญาณของโทรศัพท์มือถือก็ต่ำมาก ส่วนสนามแม่เหล็กที่ส่งออกมาก็มีขนาดเล็กมาก เกินกว่าจะมีผลกระทบต่อเซลล์ในร่างกาย จึงไม่จำเป็นที่จะต้องวิตกว่าการใช้โทรศัพท์มือถือจะทำให้ภูมิคุ้มกันแย่ลงหรือส่งผลกระทบต่อสมองและระบบประสาท

          ส่วนที่เคยมีงานวิจัยจากสวีเดน และราชสมาคมในลอนดอนระบุไว้ว่า เด็กหรือวัยรุ่นอายุน้อยกว่า 20 ปี ที่ใช้โทรศัพท์มือถือ มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งบริเวณส่วนต่อของหูกับสมอง หรือเนื้องอกในสมองมากกว่าคนทั่ว ๆ ไปถึง 5 เท่า เนื่องจากสมองและระบบประสาทยังไม่พัฒนาเต็มที่ และเด็กยังมีกะโหลกบางและเล็กกว่าผู้ใหญ่ ทำให้คลื่นพลังงานจากโทรศัพท์มือถือ สามารถทะลุทะลวงเข้าสู่สมองเด็กได้มากกว่า ขณะที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหลังอายุ 20 ปี มีโอกาสเป็นเนื้องอกในสมองชนิดร้ายแรง เพียง 50% เท่านั้น แค่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งบริเวณส่วนต่อของหูกับสมองแค่ 2 เท่า

          ข้อมูลนี้อาจจะดูน่ากลัวแต่ในความเป็นจริงแล้ว นักวิจัยเองก็ยอมรับว่ายังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะยืนยันว่า การใช้โทรศัพท์มือถือในระยะยาว เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งที่บริเวณสมอง เพราะการเกิดมะเร็งสมองได้ต้องใช้เวลานานหลายปี และอาจมีปัจจัยอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบด้วยจึงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอีก

          สอดคล้องกับรายงานของสถาบันวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ ภายใต้การดูแลขององค์กรอนามัยโลกหรือ WHO ที่ระบุว่า จากการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 13,000 คน ในระยะเวลา 10 ปี พบว่าโทรศัพท์มือถือ ไม่ได้มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งสมองชนิดเนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง และเนื้องอกในระบบประสาทส่วนกลาง แม้จะคุยโทรศัพท์นานกว่า 30 นาที ก็ยังไม่อาจสรุปได้ว่า โทรศัพท์มือถือเป็นสาเหตุของการเกิดเนื้องอกในสมองได้โดยตรง พบแต่เพียงว่าผู้ที่คุยโทรศัพท์มือถือนานกว่า จะมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือบ่อยครั้งแต่ระยะเวลาสั้น ๆ

          ทั้งนี้ ใช่ว่าการใช้โทรศัพท์มือถือจะไม่มีผลต่อสมองผู้ของใช้เลยเสียทีเดียว เพราะในวงการแพทย์ได้ยืนยันถึงผลกระทบของโทรศัพท์มือถือกับสมองไว้เรื่องหนึ่งว่า หากคุยโทรศัพท์มือถือนาน ๆ จะทำให้ผู้ใช้เกิดอาการปวดศีรษะ ผิวหนังเหี่ยวย่น ความจำแย่ลงด้วย

          สรุปก็คือ ณ วันนี้ นักวิจัยยังไม่ฟันธงว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์มือถือจะส่งผลอันตรายต่อระบบสมอง หรือประสาท อย่างที่ใคร ๆ กลัวกัน มีแต่เพียงคำเตือนที่ว่า การใช้โทรศัพท์มือถืออาจทำให้ผู้ใช้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสมองมากกว่าผู้ไม่ได้ใช้เท่านั้น และต้องมีการศึกษาวิจัยต่อไปอีกในอนาคต

          แต่ถ้าหากใครยังไม่แน่ใจ หรือเกรงว่าผลวิจัยในอนาคตจะออกมาตรงกันข้ามกับข้อมูล ณ วันนี้ เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง เราก็ควรใช้โทรศัพท์มือถืออย่างระมัดระวังมากขึ้นโดย

วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560

รังสีจากโทรศัพท์มือถือ (Cell phone radiation)

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์



ปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือ (Cell phone, Cellular telephone, Mobile phone) เป็นอีกสิ่งจำ เป็นในการใช้ชีวิต โดยเฉพาะของคนเมือง และเช่นเดียวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด ที่ต้องมีรังสีแผ่ออกมาขณะกำลังใช้เครื่อง เช่น ทีวี หลอดไฟฟ้า และเตาไมโครเวฟ แต่ความแตกต่างที่ก่อให้เกิดความกังวลกับองค์กรต่างๆด้านสุขภาพมาก เพราะโทรศัพท์มือถือ ขณะใช้ต้องอยู่ติดกับผิวหนัง หู และสมองของเรา ซึ่งทำให้โอกาสได้รับรังสีของเนื้อเยื่อ/อวัยวะเหล่านั้นสูงขึ้น ดังนั้น จึงกำลังมีการศึกษามากมายถึงผลกระทบของรังสีจากการใช้โทรศัพท์มือถือ ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาวเป็น 10 ปีขึ้นไป

มีรังสีจากโทรศัพท์มือถือจริงหรือ?

มีรังสีจากโทรศัพท์มือถือจริง โทรศัพท์มือถือ เมื่อเปิดเครื่องฯ จะมีรังสีออกมาจากตัวเครื่องฯ และจะมีรังสีปริมาณสูงมากขึ้นขณะมีการใช้เครื่องฯ แต่จะไม่มีรังสีเมื่อปิดเครื่องฯ หรือเมื่อเครื่องฯปิด

รังสีจากโทรศัพท์มือถือ คือรังสีอะไร?

รังสีจากโทรศัพท์มือถือ เป็นรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic radiation) ประ เภท นัน-ไอออนไนซ์ (Non-ionizing radiation) เรียกว่า รังสีเรดิโอฟรีเควนซี หรือเรียกย่อว่า รังสี อาร์เอฟ (Radiofrequency radiation, RF radiation) รังสีชนิด/ประเภทนี้ อาจทำให้ดีเอ็นเอของเซลล์ (DNA คือ สารพันธุกรรมสำคัญในการเจริญเติบโตของเซลล์) เกิดบาดเจ็บเสียหาย โดยไม่มีการแตกตัวของดีเอ็นเอเป็นประจุลบและประจุบวก ซึ่งเซลล์จะบาดเจ็บมากหรือน้อย ขึ้นกับปริมาณรังสีที่เซลล์ได้รับ จัดเป็นรังสีอยู่ในประเภทเดียวกับรังสีคลื่นวิทยุ รังสีจากความร้อน รังสีจากแสง แดด และรังสีจากเตาไมโครเวฟ

รังสีจากโทรศัพท์มือถือต่างจากรังสีเอกซ์/รังสีโฟตอน (X-rays/photon) ซึ่งใช้ตรวจและรัก ษาโรค (รังสีจากการตรวจโรค) โดยรังสีจากการตรวจ/รักษาโรค จะทำให้เซลล์เกิดบาดเจ็บเสีย หาย และอาจตายได้ จากการทำให้ ดีเอ็นเอ แตกตัวเป็นประจุลบและประจุบวก ซึ่งจัดเป็นรังสีประ เภท ไอออนไนซ์ (ionizing radiation) ซึ่งรังสีไอออนไนซ์ (ในปริมาณที่เท่ากับรังสีนัน-ไอออนไนซ์) สามารถทำให้เซลล์บาดเจ็บเสียหายได้มากกว่า รังสีประเภทนัน-รังสีไอออนไนซ์มาก

เมื่อเซลล์ร่างกายได้รับรังสีแล้วจะเกิดอะไรขึ้น?

เมื่อเซลล์ (ดีเอ็นเอ) ได้รับรังสีไม่ว่าจะเป็นรังสีประเภทใด (แต่ต้องเป็นในปริมาณที่มากพอ และได้รับรังสีอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานาน หลายๆเดือน หรือหลายๆปี) จะทำให้เซลล์เกิดบาดเจ็บเสียหาย ซึ่งถ้าร่างกายซ่อมแซมให้กลับเป็นปกติไม่ได้ เซลล์ที่บาดเจ็บเหล่านี้ อาจเกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์เนื้องอก หรือเซลล์มะเร็งได้ 

เมื่อเราได้รับรังสีจากโทรศัพท์มือถือแล้วจะเกิดอะไรขึ้น?

เมื่อเราได้รับรังสีจากโทรศัพท์มือถืออย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายๆปี โดยการใช้โทรศัพท์ มือถือบ่อยมาก และใช้แต่ละครั้งพูดคุยเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอก หรือมะเร็ง กับเนื้อเยื่อ/อวัยวะด้านที่ติดกับการใช้โทรศัพท์ฯ เช่น เนื้องอกของ ประสาทหู(Acoustic neuroma) ประสาทตา (Optic neuroma) เนื้องอกสมอง(Brain tumor) มะเร็งลูกตาเมลาโนมา (Melanoma) และเนื้องอกของต่อมน้ำลายบริเวณหน้าหู (ต่อมพาโรติด, Parotid gland เกิดเป็น Parotid tumor) หรือ ลูกตาเกิดต้อกระจก

ซึ่งจนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีการศึกษายืนยันแน่ชัดไปในทิศทางเดียวกันว่า มีโอกาสเกิดเนื้องอก/มะเร็ง/ต้อกระจกได้จริงหรือไม่ มากหรือน้อยอย่างไร และโอกาสเกิดมีเมื่อไร การศึกษาต่างๆยังโต้แย้งกันอยู่ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กำลังมีการศึกษาอย่างต่อเนื่องขององค์กรต่างๆเพื่อให้ได้คำตอบที่แน่ชัดในเรื่องเหล่านี้

นอกจากนั้น มีรายงานว่า ในบางคนเมื่อใช้โทรศัพท์มือถือบ่อยๆ นานๆ อาจมีอาการปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ หรือบางคนอาจมีใจสั่น ซึ่งอาการต่างๆเหล่านี้ การศึกษายังไม่สามารถระบุได้ว่า เป็นอาการเกิดจากรังสีจากโทรศัพท์มือถือ หรือจากภาวะด้านจิตใจ ความกลัว ความกังวล หรือ เครียดจากการใช้มือถือ

อย่างไรก็ตาม องค์กรระหว่างชาติด้านโรคมะเร็งที่เรียกย่อว่า ไออาร์ค หรือ ไอเออาร์ซี (IARC หรือ International Agency for Research on Cancer) ซึ่งเป็นองค์กรภายใต้การกำกับขององค์การอนามัยโลก ได้ประชุมหารือ และประกาศในวันที่ 31 พฤษภาคม 2544 ให้รังสีอาร์เอฟ(รังสีชนิดเดียวกับที่เกิดจากโทรศัพท์มือถือ) จัดอยู่ในกลุ่มสารที่อาจก่อให้มนุษย์เกิดมะเร็งได้

เด็กใช้โทรศัพท์มือถือแล้วปลอดภัยไหม?

เด็กใช้โทรศัพท์มือถือได้ แต่ควรใช้เฉพาะเมื่อมีความจำเป็น องค์การอนามัยโลก ประเทศออสเตรเลีย และองค์กรต่างๆได้เตือนถึงการใช้โทรศัพท์มือถือในเด็ก หรือในคนอายุต่ำกว่า 18 ปี และแนะนำว่า ควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อลดปริมาณรังสีสะสมตลอดชีวิตที่เด็กจะได้รับ ควรใช้ต่อเมื่อมีความจำเป็น หรือในภาวะฉุกเฉิน และใช้เวลาพูดในแต่ละครั้งให้สั้นที่สุดเท่านั้น ที่เตือนในอายุต่ำกว่า 18 ปี เพราะในเด็ก/คนอายุต่ำกว่า 18 ปี เซลล์ของร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ จึงมีความไวต่อรังสีทุกชนิด ทุกประเภท สูงกว่าในคนอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีอายุขัยยาวนานกว่าผู้ ใหญ่ จึงมีโอกาสได้รับรังสีสะสมตลอดชีวิตสูง ดังนั้น โอกาสเกิดอันตรายจากรังสีทุกชนิด และโอ กาสเกิดเซลล์กลายพันธุ์ของคนอายุต่ำกว่า 18 ปีจึงสูงกว่า

ป้องกันรังสีจากโทรศัพท์มือถือได้ไหม?

ถึงแม้การศึกษาเรื่องโทษของรังสีจากโทรศัพท์มือถือ ยังไม่ชัดเจน ยังโต้แย้งกันอยู่ แต่โดยทฤษฎี มีความเป็นไปได้ ที่จะเกิดอันตรายจากรังสี จากโทรศัพท์มือถือ ดังนั้น จึงควรป้องกันไว้ก่อน ซึ่งจะเกิดประโยชน์มากกว่า และไม่มีข้อเสียหาย 

คำแนะนำจากองค์กรต่างๆในการใช้โทรศัพท์มือถือ แนะนำทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ เพื่อเป็นการลดปริมาณรังสีที่จะได้รับจากใช้โทรศัพท์มือถือ สรุปที่สำคัญได้ดังนี้

  • ในเด็ก และคนอายุต่ำกว่า 18 ปี ควรใช้มือถือ ต่อเมื่อมีความจำเป็น หรือในภาวะฉุกเฉินเท่านั้น และควรใช้เวลาในการพูดแต่ละครั้งให้สั้นที่สุด
  • ทุกๆคน ทุกๆวัย ควรใช้มือถือให้น้อยที่สุด หรือใช้มือถือสื่อสารด้วยวิธีการอื่นแทน เช่น การส่งข้อความ เป็นต้น 
  • เมื่ออยู่บ้านควรใช้โทรศัพท์บ้าน
  • ลดการสัมผัสโดยตรงกับโทรศัพท์มือถือในขณะเปิดเครื่องฯ (โดยเฉพาะในเด็ก) โดยการใช้เครื่องช่วยฟังชนิดต่างๆ จะช่วยลดปริมาณรังสีที่ได้รับลงมาก เพราะความเข็มของรังสีจะแปรผกผันเป็นกำลังสองกับระยะทาง ดังนั้น ยิ่งอยู่ห่างจากต้นกำเนิดรังสี (ตัวเครื่องฯ ในขณะเปิดเครื่องฯใช้งาน) ยิ่งได้รับรังสีน้อยลง
  • อย่าเปิดเครื่องฯไว้ใกล้ตัว เพราะเมื่อเปิดเครื่อง จะมีรังสี ถึงแม้จะมีน้อยกว่าในขณะพูดก็ตา
  • หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือในรถ เพราะในรถมีเนื้อที่จำกัด และมีส่วน ประกอบของโลหะจึงทำให้เกิดการสะท้อนของรังสีได้สูง เป็นการเพิ่มปริมาณรังสีให้ร่างกายได้รับ สูงขึ้น
  • เลือกซื้อมือถือยี่ห้อได้มาตรฐาน เพราะในกระบวนการผลิต เครื่องฯที่ได้มาตรฐานจะอยู่ในการควบคุมความปลอดภัยด้านการแผ่รังสีขณะใช้งาน จากหน่วยงานของประเทศผู้ผลิต

สำหรับประเทศไทย ควรเลือกซื้อมือถือที่มีค่ากำหนดระดับการดูดกลืนพลังงาน อยู่ในมาตร ฐานที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนด หมายความง่ายๆว่า อยู่ในเกณฑ์ที่ยังไม่มีรายงานว่า ก่อให้เกิดอันตรายในมนุษย์ ค่านี้เรียกว่า ค่าดูดกลืนพลังงานจำเพาะ (Specific absorption rate ตัวย่อ คือ SAR/เอส เอ อาร์) กล่าวคือ มือถือที่ใช้ควรมีค่าเอสเออาร์ ซึ่งอาจเขียนไว้บนกล่อง หรือในเอกสารคู่มือการใช้เครื่องฯ สำหรับทั่วร่างกาย ไม่เกิน 0.08 W/kg (วัตต์ต่อกิโลกรัม) เฉพาะส่วนศีรษะและลำตัว ไม่เกิน 2 W/kg และเฉพาะส่วนแขน/ขาไม่เกิน 4 W/kg

มีข้อจำกัดในการใช้ค่ากำหนดระดับการดูดกลืนพลังงานอย่างไร?

ค่าเอสเออาร์เป็นตัวบอกเพียงว่า โทรศัพท์เครื่องนี้มีค่าดูดกลืนพลังงานของเนื้อเยื่อไม่เกินค่าที่กำหนดไว้ ไม่ได้บอกว่าปลอดภัยจากการใช้เต็มร้อย แต่ขณะนี้ มีเพียงค่านี้เท่านั้น ที่พอบอกเราได้ว่าเราได้รับรังสีอยู่ในระดับที่ยังไม่มีรายงานในขณะนี้ ว่าก่ออันตรายต่อเรา 

ซึ่งต้องระลึกอยู่เสมอว่า โทรศัพท์มือถือเพิ่งเริ่มใช้อย่างกว้างขวางในระยะเวลาเพียงประ มาณ 10 ปีมานี้เอง ดังนั้น การศึกษาทุกการศึกษาจึงมีข้อจำกัดในเรื่องของช่วงเวลา ซึ่งในระยาวกว่านี้ คือมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ยังไม่มีใครรู้ว่า ผลจะออกมาเป็นอย่างไร? 

ดังนั้น การดูแลตนเองในการใช้โทรศัพท์มือถือ จึงควรต้องขึ้นกับทั้งค่าเอสเออาร์ การประ กาศของไออาร์ค และคำแนะนำจากองค์กรต่างๆดังได้กล่าวแล้วในตอนต้น



ขอบคุณข้อมูลดีๆ.....!!!

คำถามเปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนความคิดไปตลอดกาล

   
   คำถามเปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนความคิดไปตลอดกาล


    ผมมีโอกาสไปเข้าร่วมสัมมนาหนึ่ง......!!!

วิทยากรถามคำถามว่า.....?




"คุณคิดว่า ระหว่างความสุข กับ ความรวย อย่างไหนทำง่ายกว่ากัน ". ........?


ผมตอบแทบไม่ต้องคิดเลยครับ
สุขทำง่ายกว่าแน่นอน….

ทุกคนในห้องสัมมนาก็ตอบเป็นเสียงเดียวกัน
ว่าสุขทำง่ายกว่า….

ยังไม่ทันที่ใครจะพูดอะไรต่อ
วิทยากรก็ถามอีกคำถามครับว่า
เมื่อเช้าตื่นมามีความสุขดีไหม?

คราวนี้ทุกคนครุ่นคิด เออ…!!!


สรุปแล้วตื่นมาแล้วสุขป่าวหว่า

นั่นหนะสิครับ

เมื่อเช้าตื่นมาสุขไหม?

ตอบไม่ได้ก็ไหนบอกว่า
สุขทำง่ายกว่า แล้วทำไมไม่สุข

หรือความสุขมันเรียบง่ายจนเกินไป

ต้องผจญภัย ต้องลำบากให้ได้มาซึ่งเงินทอง
จึงจะสุขได้…,ต้องรวยก่อนใช่ไหม

สุขมันไม่ยากก็สุขได้เลยไม่ต้องมีลีลาท่ามาก
สุขเริ่มได้เลยไม่ต้องรอให้รวย

" ยิ้มๆกันหน่อย 

หัวเราะกันหน่อย

 ทักทายเพื่อนๆ

อย่างมีความสุขได้เลย"


แชร์ได้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ครับ
ยิ่งแชร์ ยิ่งสุข.......!!!

    Mr.chinnawat

http://worldgnthailand-asia.com/?id=Powerrich9119